วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตคืออะไร
      อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
    - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
    - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
    - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก           เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความบันเทิงไว้จำนวนมหาศาล เปรียบเสมือนกับห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ต มีกำเนิดจากเหตุผลทางด้านการทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนโครงการเครือข่ายที่มีชื่อว่า "อาร์พาเน็ต" อันเกิดจากความร่วมมือ กันระหว่างมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 แห่ง เครือข่ายดังกล่าวก็เป็นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งมีประโยชน์มากทั้งทางด้านการศึกษาและการทหาร ภายหลังองค์กรและบริษัทต่างๆ ก็เล็งเห็นประโยชน์ ในการใช้เครือข่ายให้เป็นประโยชน์ จึงได้ขอดำเนินการเชื่อมเครือข่ายของตนเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันทำให้ขนาดของเครือข่ายขยายขอบเขตจนครอบคลุมทั่วโลกดังที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันและได้เรียกชื่อ เครือข่ายดังกล่าวใหม่ว่า "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต"
การติดต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถติดต่อกันได้โดยอาศัยโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งในระดับกายภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะใช้หมายเลข ไอพีแอดเดรสในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายซึ่งหมายเลขไอพีจะเป็นเลขขนาด 32 บิต เครื่องแต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันเลย สำหรับผู้ใช้สามารถใช้ระบบชื่อโดเมน อ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์แทนหมายเลขไอพีก็ได้ เนื่องจากสามารถจดจำได้ง่ายกว่าหมายเลขไอพี 

ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ประโยชน์ ของอินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลก่อให้เกิดประโยชน์มากมายได้แก่

1. ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการพูดคุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง

2. เป็นระบบสื่อสารพื้นที่จำลอง (Cyberspace) ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา เชื้อชาติ ระบบการปกครอง กฎหมาย

3. มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต- สามารถค้นหาข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ผ่านบริการ World Wide Web

4. การบริการทางธุรกิจ เช่น สั่งซื้อสินค้า หรือการโฆษณาสินค้าต่างๆ-

5. การบริการด้านการบันเทิงต่างๆ เช่น การดูภาพยนตร์ใหม่ๆ การฟังเพลง ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเกมออนไลน์ เป็นต้น
 
โทษของอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเตอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ

1. อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก - มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก

2. ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เติบโตเร็วเกินไป
 
4. ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง

5. กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่

6. ถ้าเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ -

7. ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ

8. ขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้
 
การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง
        การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine
     การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine
 Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ     Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
 
 
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดทางอินเตอร์เน็ต


  1. ใบแจ้งราคาสินค้า (ปลอม) ถ้าได้รับข้อความอีเมล์แจ้งให้เปิด และพิมพ์ "ใบแจ้งราคาสินค้า" ที่ได้แนบไฟล์มานั้นมันคือ โทรจัน ซึ่งตัวล่าสุดที่พบคือหนอนไวรัส WORM_OTORUN.C
  2. โทรจันที่มาพร้อมใบรับสินค้า (ของปลอม) อีเมล์จากผู้จัดส่งสินค้ายอดนิยมซึ่งแจ้งว่าไม่สามารถส่งมอบของให้ผู้รับได้ พร้อมแนบไฟล์ข้อมูลที่ดูเหมือนเป็นใบแจ้งหนี้ แต่จริงๆ แล้วเป็นข้อความสแปมที่จะล่อลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโทรจันลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
  3. อีคอมเมิร์ซฟิชชิ่ง อีเบย์(eBay) ร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ฮิตติดอันดับทั้งทางซื้อขาย และการขโมยข้อมูลของผู้ใช้เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ทางการเงิน
  4. ข้อมูลส่วนบุคคล บัตรของขวัญ และโปรโมชัน (ของปลอม) ผู้ใช้ที่ขอบค้นหาของฟรีหรือโปรโมชั่นพิเศษบนเว็บนั้นเสี่ยงต่อการถูกโจมตีโดย เว็บไซต์จะให้กรอกแบบสำรวจปลอมก่อนถูกที่จะขโมยข้อมูลลับหรือข้อมูลส่วนตัวนั้นไป
  5. เว็บไซต์สุดฮิต เป้าหมายหลักของการติดเชื้อคือเชื่อว่าเว็บไซต์นั้นน่าจะปลอดภัยและน่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่มีการเข้าชมสูง ฯลฯ
  6. ผลการค้นหาแหล่งช้อปปิ้งช่วงคริสต์มาส (ที่เป็นอันตราย) ภัยคุมคามซึ่งเป็นผลของการค้นหาคำว่า "Christmas gift shopping" ถูกพบว่านำไปสู่มัลแวร์หลากหลายชนิดที่เป็นอันตรายเช่น มัลแวร์ ฟิชชิ่งไซต์ ยูอาร์แอลอันตราย
  7. โฆษณามัลเแวร์ (Malvertisements) มักใช้โฆษณาและข้อเสนอเลียนแบบโฆษณาของจริง เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ โดยอาศัยความเชื่อใจของผู้ซื้อผ่านทางเว็บไซต์ยอดนิยม เ่ช่น Google MySpace เป็นต้น
  8. บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (อี-การ์ด) อาชญากรไซเบอร์มักจะใช้บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีการ์ดเพื่อล่อลวงเหยีื่อให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายในข้อความสแปม
  9. ไซต์การกุศลจอมปลอม ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการ์แผ่นดินไหว ไฟป่า น้ำท่วม ล้วนถูกอาชญากรไซเบอร์นำมาใช้ ประโยชน์เพื่อหลอกลวงให้รู้สึกอยากทำบุญและต้องการบริจาค อีกทั้งยังต้องสูญเสียเงินหรือข้อมูลที่เป็นความลับแถมไปอีกด้วย
  10. ภัยลวงนักล่าของถูก อาชญากรไซเบอร์จะใช้ส่วนลด และโปรโมชั่นเพื่อหลอกล่อเหยื่อให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย หรือใส่ข้อมูลที่เป็นความลับของตนลงในเว็บไซต์หลอกลวง

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ในการค้นหาข้อมูล (Search Engine )

1. การค้นหาเว็บ

สาระสำคัญโดยรวม

คุณจะได้ทราบข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับ:
  • คำที่ใช้ในการค้นเว็บไซต์ (Keyword)
  • ความสำคัญของการเลือกใช้ Keyword ของแต่ละ Keyword
  • วิธีในการเลือกใช้ Keyword
  • หลักเกณฑ์ในการใช้คำ และภาษาเพื่อใช้เป็นเนื้อหาของเว็บไซต์คุณ
  • Keyword และ Search Engine Optimization (SEO)
  • เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วยการใช้ Keyword ที่เหมาะสม
  • การซื้อคำค้นหาเว็บไซต์และ Keyword
  • ตรวจสอบ Keyword และคำค้นหาเว็บไซต์ด้วยบริการ tracking
  • ติดตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นรายบุคคลจากคำค้นหาเว็บไซต์ด้วยบริการ tracking
  • การบริหารและจัดการกับ Keyword ที่ใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay-per-click
2. การค้นหารูปภาพ
 
  1. ที่ images.google.com เพียงพิมพ์ในช่องค้นหาเพื่อค้นหารูปภาพที่เกี่ยวข้องจากเว็บต่างๆ
  2. Google จะค้นหารูปภาพทุกประเภทที่อาจเกี่ยวข้องกับการค้นหาของคุณจากเว็บ
  3. หรือคุณสามารถปรับการค้นหาของคุณโดยใช้การค้นหาที่เกี่ยวข้อง
  4. เลื่อนเคอร์เซอร์ไปบนภาพเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ
  5. คลิกผลการค้นหารูปภาพเพื่อดูรูปภาพขนาดใหญ่ ข้อมูลเพิ่มเติม และหน้าเว็บที่มีรูปภาพนั้น

ภาพรวมของหน้าเว็บ

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำโดยย่อเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะพบในหน้าผลการค้นหาของ Google Images

3. การค้นหารแผนที่

   การค้นหาด้วยพิกัดละติจูดและลองจิจูด
      คุณสามารถค้นหาตำแหน่งบางแห่งด้วยการใช้พิกัดละติจูดและลองจิจูดใน Google แผนที่ ต่อไปนี้คือ ตัวอย่าง ของวิธีการทำงาน
4. การค้นหาวิดีโอ
การค้นหาวิดีโอดีๆ สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน! ลองเริ่มจากวิธีง่ายๆ 3 วิธี ดังนี้:
  • หากคุณทราบว่าคุณกำลังค้นหาอะไร คุณสามารถพิมพ์คำหลักลงในช่องค้นหาที่ด้านบนของทุกหน้า
  • คลิกที่แท็บวิดีโอเพื่อเรียกดูไซต์นั้น ลิงก์ต่างๆ ด้านบนจะช่วยให้คุณทราบว่าเพื่อนๆ บน YouTube สนใจอะไร และคุณสามารถค้นหาเพิ่มเติมในแต่ละรายการได้โดยใช้ลิงก์เวลาที่เกี่ยวข้อง หมวดหมู่ และรางวัลที่เกี่ยวข้องที่ด้านบนและด้านซ้ายเพื่อปรับแต่งรายการของวิดีโอ เรายังมีคุณลักษณะสปอตไลท์เพื่อแสดงให้คุณเห็นถึงสิ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจ
  • เมื่อคุณพบสมาชิกคนอื่นที่มีวิดีโอที่คุณชอบ คุณสามารถสร้างบัญชีและสมัครรับข้อมูลช่อง YouTube โปรดของคุณเพื่อให้คุณได้รับแจ้งเมื่อมีการอัปโหลดวิดีโอใหม่—วิดีโอใหม่ล่าสุด 4 รายการของพวกเขาจะปรากฏในหน้าแรกเมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้ หรือคุณสามารถดูการสมัครรับข้อมูลทั้งหมดของคุณในครั้งเดียว



5. การค้นหาหนังสือ

ไปหน้าแรกของ Google หนังสือ. การค้นหนังสือขั้นสูง, เกี่ยวกับ Google ... ค้นหา: หนังสือทั้งหมด ตัวอย่างจำกัดเนื้อหาและมุมมองทั้งเล่ม มุมมองทั้งเล่มเท่านั้น เฉพาะ Google

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

     อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
     ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
     ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
      ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
      ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
       ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
       ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)




อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย



ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)


                          ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
                (หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที - E-Mail)


การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต



การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต



การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ


แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก



สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm


ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน


หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"


การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]


อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท



ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps [3]

เริ่มต้นการใช้งานอินเตอร์เน็ต

เริ่มต้นการใช้งานอินเตอร์เน็ต


  1. ทำความรู้จักโปรแกรมในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต
    • เริ่มต้นต้องรู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ตกันก่อน โดยเฉพาะกับโปรแกรม Windows Internet Explorer มีสัญลักษณ์โลโก้เป็นตัวอักษร "e"?ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการใช้งาน และโปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับ Windows อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไป download มาจากที่ไหน ยกเว้นแต่ต้องการทดลองใช้โปรแกรมอื่นๆ หรือ upgrade เท่านั้น
    • Mozilla FireFox? อีกหนึ่งโปรแกรมสำหรับท่องอินเตอร์เน็ต สามารถ download และใช้งานได้ฟรี เช่นเดียวกันกับ Windows Internet Explorer จุดเด่นของโปรแกรมนี้อยู่ที่ความเร็วในการใช้งาน หรือเข้าเว็บไซต์?แถมมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูงมากด้วย
    • โปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ Opera, Google Chrome, Safari, Plawan (ของคนไทย) เป็นต้น
  2. ทำความรู้จัก "ลิงค์"?
    • ลิงค์ก็คือการเชื่อมโยงข้อความจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง (หรืออาจเป็นหน้าเดียวกันก็ได้)? จะสังเกตได้ว่ามีลิงค์ตรงไหน ให้ลองเลื่อนเม้าส์ไปวางใกล้ๆ ข้อความ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ" แสดงว่าเป็นลิงค์ ให้คลิกได้เลย? บางเว็บก็แสดงขีดเส้นใต้ให้ด้วย
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพแทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพเคลื่อนไหว (เช่น Flash Animation เป็นต้น) แทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
  3. บันทึกรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต
    • ถ้าต้องการรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต บางเว็บไซต์ก็อนุญาตให้บันทึก หรือ Save ได้ แต่บางเว็บก็ไม่อนุญาต? โดยทั่วไปเราสามารถบันทึกภาพจากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงคลิกขวาเหนือรูปภาพ จากนั้นคลิกเลือก Save As หรือ Save Picture As จากนั้นก็เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บรูปภาพ
    • รูปภาพเคลื่อนไหว มีได้หลายประเภท?ตัวอย่างเช่น
      • GIF สามารถบันทึกภาพได้เช่นเดียวกับรูปภาพปกติ
      • Flash Animation ไม่สามารถบันทึกได้ด้วยวิธีปกติ ต้องเข้าไปดูทีโฟลเดอร์ Temporary Internet Files และเลือกไฟล์ที่เราต้องการ ไฟล์จะมีนามสกุล .SWF
      • ไฟล์วีดีโอ เช่น FLV เป็นต้น โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ YouTube.com ที่ให้บริการข้อมูลภาพวีดีโอ ถ้าต้องการบันทึก ต้องใช้โปรแกรมพิเศษช่วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก? เทคนิคการ save ไฟล์วีดีโอจาก YouTube
    • รูปภาพ?Lock ปกติหลายๆ เว็บมีการเขียนโปรแกรมป้องกันการคลิกขวา แต่ความเป็นจริงแล้ว เราสามารคลิกปุ่ม PrtScr (Print Screen) จากแป้นพิมพืได้ ดังนั้น lock ไม่อยู่แน่นอน
  4. เปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมกัน
    • เราสามารถเปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมๆ กันได้ เพราะบางครั้งเว็บที่เราเข้าไป ยังโหลดข้อมูลไม่เสร็จ ดังนั้น เพื่อไม่เสียเวลา ลองเข้าไปดูอีกเว็บหนึ่งได้ สำหรับผู้ใช้งาน Windows Internet Explorer เวอร์ชั่นใหม่ จะมีความสามารถในการแสดงเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บที่แสดงบนแท็ป ลองทดสอบโดยการคลิกเมนู File เลือก New Tab (ถ้ามี) จากนั้นให้พิมพ์ชื่อเว็บใหม่ที่ต้องการ
  5. ค้นหาเว็บทั่วโลก
    • เราสามารถใช้เว็บที่ให้บริการค้นหาเว็บทั่วโลกได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการค้นหาข้อมูลของเราว่า ต้องการแบบไหน
      • Web Search Engine เว็บที่ให้บริการค้นหาโดยเฉพาะ เพียงแค่พิมพ์ข้อความที่ต้องการในช่องค้นหา เช่น คำว่า "ไอที", "ฟรีแวร์" เป็นต้น คำเหล่านี้เราเรียกว่า Keyword และคลิกค้นหา แค่นี้เว็บนั้นๆ ก็จะแสดงรายชื่อของเว็บที่มีความเกี่ยวข้องกับ keyword ที่เราค้นหาให้? ตัวอย่างเว็บ Web Search Engine ระดับโลกได้แก่ www.google.com, www.bing.com, www.yahoo.com เป็นต้น
      • Web Directory หมายถึงเว็บที่มีจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว เช่น หมวดคอมพิวเตอร์ หมวดท่องเที่ยว หมวดการศึกษา เป็นต้น ทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่คลิกเลือกเว็บที่ต้องการเท่านั้น? ตัวอย่างเว็บ ได้แก่ www.sanook.com, www.kapook.com เป็นต้น
  6. Download โปรแกรมและข้อมูล
    • อีกหนึ่งบริการจากเว็บไซต์ที่เราเข้าถึง บางเว็บไซต์อาจมีบริการแจกฟรีโปรแกรม แจกรูปภาพ หรือจากวีดีโอ ซึ่งเราสามารถคลิกไฟล์เหล่านั้นได้ทันที ปกติ จะมี หน้าต่างแสดงรายละเอียดให้เรา download และคลิกและรอให้ download ข้อมูลจนเสร็จก่อนใช้งาน
    • ถ้าต้องการให้ download ได้เร็วสุดๆ นอกเหนือจากการซื้อ Internet Speed สูงๆ แล้ว เราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยประเภท Download Manager สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่ รวมมิตรโปรแกรมช่วย download ให้เร็วขึ้น
  7. ดูหนัง ฟังเพลง
    • ไม่พูดไม่ได้เลย เพราะเป็นอีกหนึ่งวิธีการพักผ่อนโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วย เราสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้ ไม่ว่าจะเป็น www.SiamTv.info, www.Youtube.com หรือ ค่ายเพลงดังๆ ของไทย เช่น GMM www.gmember.com เป็นต้น

แค่นี้ คงพอให้เราเข้าใจการใช้งานอินเตอร์เน็ตบ้างแล้วน่ะครับ สำหรับเทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ตอื่นๆ จะนำมาเล่ากันในหัวข้อต่อๆ?ไปครับ ขอให้สนุกกับการเล่นอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องน่ะครับ :)